หมุนเวียนหมายถึงระบบการเกษตรแบบหนึ่งและยังเป็นที่รู้จักในชื่อ “swidden” หรือ “ระบบ ตัดและเผา” เป็นระบบการเพาะปลูกในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งเกษตรกรจะถากถางพื้นที่โดยการตัดต้นไม้วัชพืชแล้วก็เผาโดยปกติหลังจากการเก็บเกี่ยวพื้นที่ไร่เก่าถูกปล่อยทิ้งไว้ เพื่อให้พื้นที่เริ่มฟื้นความอุดมสมบูรณ์พืชพันธุ์ฟื้นคืนมาอีกครั้ง จึงหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมอีกครั้งหนึ่ง

ระบบไร่หมุนเวียนเป็นระบบเกษตรกรรมพื้นบ้านที่ทำกันในหลายวัฒนธรรมในอดีต แต่ปัจจุบันพอจะหลงเหลือให้เห็นได้ในหมู่ชาวปะเกอญอ บนพื้นที่สูงทางภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นวิธีการเพาะปลูกพืชในพื้นที่หนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง โดยจะปลูกพืชแบบผสมผสาน ทั้งข้าว ผัก และพืชใช้สอยต่างๆ รวมกันในบริเวณพื้นที่เดียวกัน เมื่อทำการเพาะปลูกไประยะหนึ่งจนดินลดความอุดมสมบูรณ์ลง ก็จะย้ายไปทำการเพาะปลูกในพื้นที่ใหม่ และปล่อยให้ดินในพื้นที่เดิมได้ฟื้นความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ แล้วจึงหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมนั้นอีกครั้ง จึงเป็นรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนที่สามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดินไว้ได้มากที่สุดระบบหนึ่ง แต่ในปัจจุบัน มีการทำไร่หมุนเวียนกันอย่างผิดวิธีจนทำให้ระบบเกษตรกรรมวิธีนี้ถูกเข้าใจผิดว่าเป็นการทำเกษตรกรรมแบบไร่เลื่อนลอย ที่ไปตัดไม้ทำลายป่าต้นน้ำบนที่สูง

ลักษณะพื้นฐานของไร่หมุนเวียน

แม้รูปลักษณ์ของไร่หมุนเวียนจะแตกต่างไปตามปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของแต่ละแห่ง เช่น บางแห่งลดรอบหมุนเวียนและเสริมด้วยการจัดการให้มีประสิทธิภาพ บางแห่งยังยืนยันพื้นที่และรอบหมุนเวียนแบบเดิม บางแห่งเป็นสิทธิร่วมแต่บางแห่งเป็นกรรมสิทธิ์ปัจเจก บางแห่งยังคงประกอบพิธีกรรมตามประเพณีความเชื่อดั้งเดิม แต่บางแห่งเริ่มปรับลดพิธีกรรมที่ไม่สอดคล้องออกไป เป็นต้น แต่ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายเหล่านี้ เราได้พบลักษณะพื้นฐานของความเป็นไร่หมุนเวียนร่วมกัน ซึ่งหากมีการผลิตที่แตกต่างไปจากลักษณะพื้นฐานเหล่านี้คนกะเหรี่ยงจะไม่ยอมรับว่าเป็นไร่หมุนเวียน หรือ “คึ/เคว่อะ” อีกต่อไป ลักษณะพื้นฐานดังกล่าว ได้แก่

  1. การใช้ระบบหมุนเวียนธาตุอาหารตามธรรมชาติ ด้วยการทำการผลิตระยะสั้นและปล่อยให้พักระยะยาวจนผืนดินฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉลี่ยแล้วมีการพักฟื้นไร่ซากไม่ต่ำกว่า ๗-๑๒ ปี แล้ววนกลับมาทำใหม่ แต่จำนวนรอบปีไม่สำคัญเท่ากับความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่นั้นๆ ว่ากลับคืนมาเหมาะแก่การปลูกข้าวหรือยัง ตัวชี้วัดสำคัญอยู่ที่เทคโนโลยีที่มาใช้การผลิตว่าต้องไม่เร่งการผลิตจนทำลายระบบนิเวศ
  2. อุดมการณ์การผลิตเพื่อยังชีพ คนกะเหรี่ยงไม่มีจินตภาพที่จะกำหนดให้ไร่หมุนเวียนหรือ “คึ/เคว่อะ” ผลิตเพื่อการค้าเป็นหลักแต่ยังยืนการผลิตเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและชุมชนเป็นหลักแม้จะมีการขายผลผลิตบางอย่างที่ได้จากไร่หมุนเวียน เช่น พริกแตง ถั่ว ฯลฯ แต่ก็เป็นเพียงส่วนเสริมเท่านั้น ดังนั้นเศรษฐกิจศีลธรรมด้วยอุดมการณ์ยังชีพยังเป็นปัจจัยสำคัญที่แบ่งแยกระหว่างการทำไร่ข้าวของพวกเขากับระบบการผลิตอื่นๆ
  3. ไร่หมุนเวียนกับการสืบทอดอัตลักษณ์วัฒนธรรม แม้เริ่มปรากฏว่าความสนใจของคนรุ่นหนุ่มสาวจำนวนไม่น้อยต่อประเพณีพิธีกรรมไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมลดลง แต่จากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงนี้เองที่ทำให้คนกะเหรี่ยงตระหนักถึงความสำคัญของไร่หมุนเวียนในฐานะอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้น ผู้เฒ่าผู้แก่กะเหรี่ยงในแต่ละชุมชนต่างพยายามพื้นฟูประเพณีความเชื่อไร่หมุนเวียน แม้ว่าจะมีการปรับประยุกต์บ้างแต่ก็คงรักษาสาระสำคัญทางวัฒนธรรมไว้ ความยึดมั่นต่อไร่หมุนเวียนในฐานะอัตลักษณ์วัฒนธรรมปรากฏกระทั่งคนที่เลิกทำไร่หมุนเวียนไปแล้ว แต่พวกเขาก็ยังยืนยันว่าความเป็นกะเหรี่ยงยังต้องผูกพันกับการทำไร่หมุนเวียนต่อไป หรือในทางกลับกันความเป็นไร่หมุนเวียนก็ต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีของคนกะเหรี่ยง

Explore More

เกษตรทฤษฎีใหม่

เกษตรทฤษฎีใหม่
September 24, 2022 0 Comments 1 tag

เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยและมีชีวิตอย่างยั่งยืน โดยมีการแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 30:30:30:10 เป็นหลักการในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การดำเนินงานตามทฤษฎีใหม่มี 3 ขั้นตอน คือ ในขั้นแรกที่เป็นการผลิต ถือเป็นขั้นสำคัญที่สุด ให้แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 :

เกษตรธรรมชาติ

เกษตรธรรมชาติ
October 22, 2022 0 Comments 1 tag

เกษตรธรรมชาติเป็นระบบเกษตรที่คำนึงถึงระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมมีหลายแนวคิดที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น แนวคิดของมาซาโนบุ ฟูกูโอกะ แนวคิดเกษตรธรรมชาติคิวเซของโมกิจิ โอกาดะ และ แนวคิดเกษตรธรรมชาติเกาหลีของ ฮาน คิว โช ส่วนใหญ่แนวคิดของเกษตรธรรมชาติจะมีหลักการที่คล้ายคลึงกัน คือ การไม่ไถพรวนดิน ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ไม่กำจัดวัชพืช ใช้การคลุมดิน ใช้พลังจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ และให้ความสำคัญกับดินเป็นอันดับแรกด้วยการปรับปรุงดินให้มีพลังในการเพาะปลูก เหมือนกับดินในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ โดยการนำทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อม โดยไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกรและผู้บริโภค สามารถให้ผลผลิตที่มีทั้งปริมาณและคุณภาพ ถือได้ว่าเป็นระบบเกษตรที่มีความยั่งยืนมั่นคง ในการทำเกษตรกรรมธรรมชาติ จะมีการจัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ที่สอดประสานกับธรรมชาติอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน งดเว้นกิจกรรมที่ไม่จำเป็นหลักๆ ได้แก่